เมนู

มีคุณน้อย มีโทษมาก เพราะผู้นั้นมีคุณมาก.

ผรุสวาจานั้น มีองค์ 3 คือ


1. อกฺโกสิตพฺโพ ปโร คนอื่นที่ตนด่า
2. กุปิตจิตฺตํ จิตโกรธ
3. อกฺโกสนา การด่า
บทว่า เนลา ความว่า โทษเรียกว่า เอละ วาจาชื่อว่า เนลา เพราะ
ไม่มีโทษ อธิบายว่า มีโทษออกแล้ว. เหมือนอย่าง เนลํ ไม่มีโทษที่
พระองค์ตรัสไว้ในประโยคนี้ว่า รถคืออริยมรรคมีองค์ไม่มีโทษ มีหลังคา
ขาว ดังนี้.
บทว่า กณฺณสุขา ความว่า สบายหู เพราะมีพยัญชนะสละสลวย
คือ ไม่ให้เกิดการเสียบหู เหมือนแทงด้วยเข็ม.
วาจาชื่อว่า ชวนให้รัก เพราะไม่ให้เกิดความโกรธ ให้เกิดแต่
ความรักในสรีระทั้งสิ้น เพราะมีเนื้อความสละสลวย.
วาจาชื่อว่า จับใจ เพราะถึงใจ คือเข้าไปสู่จิตได้สะดวก ไม่กระทบ
กระทั่ง.
วาจาชื่อว่า เป็นคำชาวเมือง เพราะอยู่ในเมือง โดยเหตุที่บริบูรณ์
ด้วยคุณ. ชื่อว่าเป็นคำชาวเมือง แม้เพราะเป็นถ้อยคำอ่อนโยนเหมือนนารี
ที่เติบโตในเมือง. ชื่อว่า เป็นถ้อยคำชาวเมือง แม้เพราะวาจานี้เป็นของ
ชาวเมือง อธิบายว่า เป็นถ้อยคำของชาวกรุง. จริงอยู่ ชาวกรุงย่อมเป็น
ผู้มีถ้อยคำเหมาะสม เรียกคนปูนพ่อว่าพ่อ เรียกคนปูนพี่ว่าพี่.
วาจาชื่อว่า คนส่วนมากรักใคร่ เพราะถ้อยคำอย่างนี้เป็นถ้อยคำที่

คนส่วนมากรักใคร่.
วาจาชื่อว่า คนส่วนมากพอใจ เพราะเป็นที่พอใจ คือ ทำความ
เจริญใจแก่คนส่วนมาก โดยที่คนส่วนมากรักใคร่นั่นเอง.
อกุศลเจตนาที่ให้เกิดกายประโยคและวจีประโยค อันเป็นเหตุให้
เข้าใจเรื่องที่ไม่มีประโยชน์ ชื่อว่า สัมผัปปลาป. สัมผัปปลาปนั้น ชื่อว่า
มีโทษน้อย เพราะมีอาเสวนะน้อย ชื่อว่า มีโทษมาก เพราะมีอาเสวนะ
มาก.

สัมผัปปลาบนั้น มีองค์ 2 คือ


นิรตฺถกกถาปุเรกฺขารตา

มุ่งกล่าวถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์มีเรื่อง
ภารตยุทธ และเรื่องชิงนางสีดา เป็นต้น.
2. ตถารูปีกถากถนํ กล่าวเรื่องเช่นนั้น ชื่อว่า พูดถูกกาล เพราะ
พูดตามกาล อธิบายว่า พูดกำหนดเวลาให้เหมาะแก่เรื่องที่จะพูด.
ชื่อว่า พูดแต่คำจริง เพราะพูดคำจริง แท้ แน่นอน ตามสภาพ
เท่านั้น.
ชื่อว่า พูดอิงประโยชน์ เพราะพูดทำให้อิงประโยชน์ปัจจุบัน และ
ประโยชน์ภายหน้านั่นเอง.
ชื่อว่า พูดอิงธรรม เพราะพูดทำให้อิงโลกุตตรธรรม 9.
ชื่อว่า พูดอิงวินัย เพราะพูดให้อิงสังวรวินัย และปหานวินัย.
โอกาสที่ตั้งไว้ เรียกว่าหลักฐาน. คำชื่อว่า มีหลักฐาน เพราะ
หลักฐานของคำนั้นมีอยู่ อธิบายว่า พูดคำที่ควรจะต้องเก็บไว้ในหัวใจ.
บทว่า กาเลน ความว่า และแม้เมื่อพูดคำเห็นปานนี้ ก็มิได้พูด